วันที่ 15 พ.คคำพูดจาก เกมสล็อตมาใหม่. 2566 ดร.ชมภารี ชมภูรัตน์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา พร้อมด้วย น.ส.ชลาลัย แจ่มผล ผู้อำนวยการกองพยากรณ์อากาศ นายวัฒนา กันบัว ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตุนิยมวิทยา นายสมควร ต้นจาน ผู้อำนวยการกองตรวจและเฝ้าระวังสภาวะอากาศ และนายสุรพงษ์ สารปะ รักษาการในตำแหน่ง ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการพัฒนาระบบงานการพยากรณ์อุตุนิยมวิทยา ร่วมประชุม “สรุปการบริหารจัดการน้ำฤดูแล้ง ปี 2565/66 และเตรียมรับมือฤดูฝน ปี 2566”
ดร.ชมภารี กล่าวว่า สถานการณ์ฝนตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน (10 พ.ค. 66) ปริมาณฝนสะสมเฉลี่ยตั้งแต่ 1 ม.ค.-10 พ.ค. 2566 เกือบทุกภาคของไทยยังคงมีปริมาณฝนสะสมเฉลี่ยต่ำกว่าค่าปกติ ยกเว้นภาคใต้ตอนล่างที่สูงกว่าค่าปกติ โดยค่าเฉลี่ยต่ำกว่าค่าปกติ 36 % ปริมาณฝนเฉลี่ย 155.5 มม. (ค่าปกติ 244.5 มม.) เมื่อเปรียบเทียบปริมาณฝนเฉลี่ย และค่าสูง-ต่ำกว่าปกติ กับปีที่แล้ว (2565)
นับถอยหลังรอเลย! คาดประเทศไทยเข้าฤดูฝนเดือน พ.ค.นี้
พยากรณ์อากาศ 10 วันล่วงหน้าช่วง 16 – 20 พ.ค.ไทยตอนบนฝนเริ่มน้อยลง
ปริมาณฝนน้อยกว่าปีที่แล้ว 139.9 มม. หรือหากเปรียบเทียบค่าสูง-ต่ำกว่าค่าปกติ ปริมาณฝนน้อยกว่า 35 %ในช่วงเวลาเดียวกัน (เมื่อปีที่แล้วกรมอุตุนิยมวิทยาได้ประกาศเข้าสู่ฤดูฝนเมื่อวันที่13 พ.ค.65 ) หากพิจารณาปริมาณฝนรวมรายปีของไทยในอดีต(5 ปีย้อนหลัง) สัมพันธ์กับปรากฏการณ์เอลนีโญ-ลานีญา พบว่าปี 2554 (ปีน้ำมาก) เป็นปรากฎการณ์ลานีญากำลังแรง
ส่วนปี 2560 -2561 เป็นปรากฎการณ์ลานีญากำลังอ่อน ฝนสูงกว่าค่าปกติปี 2562 –ครึ่งปี 2563) เป็นปรากฎการณ์เอลนีโญกำลังอ่อน ฝนน้อยกว่าค่าปกติ และ ปี 2564 2564 – 2565 เป็นปรากฎการณ์ลานีญากำลังปานกลาง ฝนสูงกว่าค่าปกติ และคาดการณ์ปี 2566 มีแนวโน้มจะกลับมาเป็นเอลนีโญ กำลัง/ขนาดอ่อน และมีแนวโน้ม จะยาวไปถึงปี 2567
สำหรับพายุไซโคลน “โมคา (MOCHA )” ซึ่งเป็นพายุลูกแรกฝั่งทะเลอาราเมียนและอ่าวเบงกอล) ที่เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณเมียนมาตอนบนได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันแล้ว เคลื่อนตัวทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และจะอ่อนกำลังลงตามลำดับทำให้ลมตะวันตกเฉียงใต้ ที่พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน มีกำลังอ่อนลง ฝนจะเริ่มน้อยลง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวเบงกอลตอนบนยังมีกำลังปานกลาง ยังต้องระวังไปอีก 1 วัน ระยะนี้ลมจะเริ่มเปลี่ยนทิศทางเป็นลมตะวันตกเฉียงใต้แล้ว และเป็นช่วงเตรียมเข้าสู่ฤดูฝน (Pre-monsoon)
ทั้งนี้ ฤดูฝนปีนี้ของไทยจะเริ่มต้นช่วงปลายสัปดาห์ที่ 3 ของเดือน พ.ค. สิ้นสุดประมาณกลางเดือน ต.ค. ปีนี้คาดว่าปริมาณฝนรวมของทั้งประเทศในช่วงฤดูฝนจะน้อยกว่าปี 2565 และจะน้อยกว่าค่าปกติประมาณ 5% (ปีที่แล้วสูงกว่าค่าปกติ 14%) เมื่อเริ่มต้นเข้าสู่ฤดูฝนช่วงแรกฝนยังตกไม่สม่ำเสมอ กลาง มิ.ย.-กลาง ก.ค. ปริมาณและการกระจายของจะฝนลดลง อาจก่อให้เกิดสภาวะฝนทิ้งช่วงในหลายพื้นที่ยาวนานขึ้น เกิดการขาดแคลนน้ำด้านการเกษตร โดยเฉพาะพื้นที่ที่แล้งซ้ำซากนอกเขตชลประทาน ช่วงเดือน ส.ค.-ก.ย. จะมีฝนตกชุกหนาแน่นเพิ่มขึ้น 60-80% ของพื้นที่กับมีฝนหนักหลายพื้นที่และหนักมากในบางแห่งซึ่งจะก่อให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก รวมทั้งน้ำล้นตลิ่งได้ในบางพื้นที่ แต่ปริมาณยังน้อยกว่าค่าปกติ
ส่วนเดือน ต.ค. บริเวณภาคเหนือและภาคอีสานมีฝนลดลงและเริ่มจะมีอากาศหนาวเย็นในตอนเช้า โดยเฉพาะตอนบนของภาค ส่วนบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ มีฝนตกชุกหนาแน่นต่อไปกับมีฝนตกหนักหลายพื้นที่และหนักมากในบางแห่ง
คาดการณ์พายุหมุนเขตร้อนในปีนี้ คาดว่ามีแนวโน้มของพายุจะเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย จำนวน 1-2 ลูก โดยมีโอกาสสูงสุดที่จะเคลื่อนผ่านบริเวณภาคอีสานและภาคเหนือในช่วงเดือนส.ค.หรือ ก.ย. สถานการณ์ปรากฎการณ์เอนโซ่ (ENSO ) ปัจจุบันสถานการณ์ยังเป็นกลาง และมีแนวโน้มสูงที่จะกลายเป็นปรากฎการณ์เอลนีโญกำลังอ่อนในเดือน มิ.ย. และอาจจะยาวต่อเนื่องไปจนถึงเดือน ก.พ.2567 ซึ่งหากเปลี่ยนมาเป็นปรากฎการณ์เอลนีโญ จะมีผลกระทบต่อสภาวะฝนบริเวณประเทศไทย โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน จะมีปริมาณฝนทั้งจำนวนวันที่ฝนตกและปริมาณฝนน้อยลง และตกไม่สม่ำเสมอ บางเดือนอาจจะเกิดภาวะฝนทิ้งช่วงได้ ต้องเตรียมการวางแผนรับมือ การบริหารจัดการน้ำอย่างละเอียดและรัดกุม