“วันคเณศจตุรถี” เป็นวันไหว้พระพิฆเนศที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ในบางตำราอาจบอกว่าเป็นวันประสูติของพระคเณศ ทำให้หลายคนสับสนกับ “วันคเณศชยันตี” ซึ่งเป็นวันประสูติของพระองค์เหมือนกัน
แต่ถ้าอิงจากชาวฮินดูในรัฐมหาราษฏระ รัฐที่บูชาพระคเณศเป็นใหญ่และบูชาอย่างเคร่งครัด จะถือว่าวันนี้นั้นเป็น “วันเฉลิมฉลององค์พระคเณศอันยิ่งใหญ่”
13 ก.พคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. “วันคเณศชยันตี 2567” วันเกิดพระพิฆเนศ เช็กวิธีไหว้-ของไหว้ ที่นี่!
9 สถานที่ไหว้ “พระพิฆเนศ” ยอดนิยมในกรุงเทพและต่างจังหวัด
กันยายน 2566 มี 2 วันไหว้ขอพรพระจันทร์ ขอเงินก็ดี ขอรักก็ปัง
โดยมีระยะเวลาถึง 10-11 วัน วันเริ่มงานวันแรกจะตรงกับวันขึ้น 4 ค่ำ และสิ้นสุดในวันอนันตะจตุรทศี ขึ้น 14 ค่ำ เดือนภัทร ซึ่งในปีนี้จะตรงกับวันที่ 19-28 กันยายน 2566
รู้จัก “วันคเณศจตุรถี”
เชื่อกันว่าในช่วงนี้ องค์พระพิฆเนศจะเสด็จลงมายังโลกมนุษย์เพื่อประทานพรให้แก่ผู้ศรัทธาพระองค์ ถือเป็นช่วงเวลาที่เราจะได้อยู่ใกล้ชิดกับพระองค์เป็นพิเศษ ชาวฮินดูและผู้เลื่อมใสศรัทธาจึงมักทำการเฉลิมฉลอง เพื่อต้อนรับพระองค์ ด้วยการบูชาในบ้านของตัวเองหรือเทวลัย ในปัจจุบันมักนิยมทำกัน 3 วัน 7 วัน หรือพิธีใหญ่ 10 วัน
ปกติที่อินเดีย จะสร้างเทวรูปขึ้นจากดิน ปั้นขึ้นมาเป็นองค์เพื่อใช้ในการบูชาในช่วงเทศกาลคเณศจตุรถีนี้ เมื่อเสร็จพิธีจะนำไปลอยน้ำ
อย่างไรก็ตามสำหรับเราที่อาจต้องการเพียงบูชา สามารถนำเทวรูปที่เราบูชาอยู่ทุกวันมาใช้บูชาในช่วงคเณศจตุรถีได้เช่นกัน เสร็จพิธีเพียงอัญเชิญกลับหิ้ง ไม่จำเป็นต้องลอยน้ำ แต่ระหว่างที่อัญเชิญท่านมาบูชาอาจทำความสะอาดเทวรูปก่อน รวมถึงทำความสะอาดหิ้งพระ และเทวรูปต่างๆ ของเราด้วย
วันไหว้พระจันทร์ 2566 ตรงกับวันไหน ทำไมถึงต้องไหว้
เปิดโปรแกรมวอลเลย์บอลชายไทย ทำศึกเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 19 พีพีทีวี ยิงสด
มีแมวเมื่อพร้อม! รวมไอเทมเลี้ยงแมว อยากเป็นทาสแมวต้องรู้
สิ่งของที่ควรจัดเตรียม ก่อนพิธีไหว้
ก่อนวันพิธีจะมาถึง เราควรจัดหาสิ่งของดังต่อไปนี้
- “โต๊ะเล็กๆ” หรือ “ผ้าปู” นิยมเป็นสีแดงหรือส้ม เพราะเป็นสีแห่งพลังงานและเป็นสีที่ท่านโปรดปราน เพื่อนำมาผูอาสนะเสมือนเป็นที่ประทับรับรองพระองค์ เวลาท่านเสด็จลงมา
- น้ำเปล่าใส่ถ้วย พร้อมช้อนสะอาด สำหรับตักถวายเทวรูปในขั้นตอนต่างๆ
- น้ำปัญจมรัตน์ (นม โยเกิร์ต เนย น้ำผึ้ง น้ำตาลทราย หรือน้ำอ้อย)
- ผ้าที่ใช้สำหรับเช็ดน้ำสะอาดหรือสำหรับล้างเทวรูป
- ผ้าสำหรับแต่งเทวรูป ถ้าไม่มีอาจใช้ด้ายฝ้ายสีแดงหรือย้อมสี ฉีกเป็นเส้น พอดีกับเทวรูป สำหรับคล้องแทนผ้าต่างๆ
- ผงสำหรับจุ่มเจิม
- น้ำหอมสำหรับประพรมเทวรูป
- เครื่องประดับเซ่น เช่น สร้อย กำไล ถ้าไม่มีถวายอาจใช้เหรียญเงิน เหรียญทอง หรือข้าวสารแทนของมีค่า
- ดอกไม้ มาลัย โดยเฉพาะ “ดอกชบา”
- ธูป หรือ กำยาน
- ดวงประทีป หรือ เทียน
- ผลไม้ตามฤดูกาล เครื่องดื่ม อาหาร สำหรับถวาย
- ขนมหวาน ลาดู โมทกะ
- หมาก พลู หญ้าแพรก
16 ขั้นตอนสักการะพระพิฆเนศ
1.) กล่าวอัญเชิญองค์พระคเณศประทับยังแท่นที่เตรียมไว้
“โอม ศรี คเณศายะ นะมะหะ ข้าพเจ้าขอเชิญพระองค์ประทับยังแท่นที่เตรียมไว้”
2.) นำข้าวสารหรือดอกไม้ โปรยที่แท่น หรืออาจเรียงเป็นรูปสวัสดิกะ แล้วนำเทวรูปวาง
3.) ถวายน้ำล้างพระบาท
อธิษฐานว่า “โอม ศรี คเณศายะ นะมะหะ ข้าพเจ้าขอถวายน้ำล้างพระบาทต่อพระองค์”
จากนั้นนำช้อนตักน้ำวนที่บริเวณพระบาทของเทวรูป 3 ครั้งแล้ว เทลงที่พระบาทหรือเบื้องหน้าเทวรูป
4.) ถวายน้ำชำระพระหัตถ์
อธิษฐานว่า “โอม ศรี คเณศายะ นะมะหะ ข้าพเจ้าขอถวายน้ำล้างพระหัตถ์ต่อพระองค์”
จากนั้นนำช้อนตักน้ำวนที่บริเวณพระหัตถ์ของเทวรูป 3 ครั้งแล้ว เทลงที่พระบาทหรือเบื้องหน้าเทวรูป
5.) ถวายน้ำชำระพระโอษฐ์
อธิษฐานว่า “โอม ศรี คเณศายะ นะมะหะ ข้าพเจ้าขอถวายน้ำชำระพระโอษฐ์ต่อพระองค์”
จากนั้นนำช้อนตักน้ำวนที่บริเวณพระโอษฐ์ของเทวรูป 3 ครั้งแล้ว เทลงที่พระบาทหรือเบื้องหน้าเทวรูป
6.) ถวายน้ำสรงสนาน
อธิษฐานว่า “โอม ศรี คเณศายะ นะมะหะ ข้าพเจ้าขอถวายน้ำสรงสนานต่อพระองค์ ถวายน้ำสะอาด หรือน้ำนม หรือถวายปัญจะมรัตน์สรงเทวรูป”
หลังสรงแล้ว ให้ล้างด้วยน้ำสะอาด เช็ดองค์ทำความสะอาด เชิญองค์เทวรูปกลับแท่นพิธี
(หากไม่สรงที่องค์ สามารถนำน้ำสะอาดวน รอบเทวรูป แล้วเทลงเบื้องหน้าได้เช่นกัน)
7.) ถวายผ้าทรง
อธิษฐานว่า “โอม ศรี คเณศายะ นะมะหะ ข้าพเจ้าขอถวายผ้าสำหรับนุ่งห่มต่อพระองค์”
จากนั้นนำผ้าคลุมหรือผ้านุ่งที่เตรียมไว้ ถวายต่อเทวรูป อาจจะนุ่งหรือคลุม หรือวางไว้เบื้องหน้า
8.) ถวายเครื่องหอม แป้งและผงเจิม
อธิษฐานว่า “โอม ศรี คเณศายะ นะมะหะ ข้าพเจ้าขอถวายเครื่องหอม และผงจุ่มเจิมต่อพระองค์”
จากนั้นนำผงเจิม เช่น ผงจันทร์ ผงกุมกุม ผงซินดู เจิมที่เทวรูป และนำน้ำหอมประพรมที่เทวรูป
9.) ถวายเครื่องประดับ
อธิษฐานว่า “โอม ศรี คเณศายะ นะมะหะ ข้าพเจ้าขอถวายเครื่องประดับต่างๆ ต่อพระองค์”
จากนั้นนำเครื่องประดับที่จัดเตรียมไว้ อาทิ เช่น สร้อย กำไล สวมคล้องต่อเทวรูป หรือวางไว้เบื้องหน้า
10.) ถวายดอกไม้ และมาลัย
อธิษฐานว่า “โอม ศรี คเณศายะ นะมะหะ ข้าพเจ้าขอถวายมาลัยดอกไม้นี้แด่พระองค์”
จากนั้นนำดอกไม้ มาลัยที่เตรียมไว้คล้องถวายต่อเทวรูป หรือถวายไว้เบื้องหน้าเทวรูป หรือโปรยดอกไม้ให้ทั่วเทวรูป
11.) ถวายธูปหอม และกำยาน
อธิษฐานว่า “โอม ศรี คเณศายะ นะมะหะ ข้าพเจ้าขอถวายธูปหอม และกำยานนี้ต่อพระองค์”
จากนั้นนำธูปหรือกำยานจุดวนถวายต่อเทวรูป
12.) ถวายดวงประทีป
อธิษฐานว่า “โอม ศรี คเณศายะ นะมะหะ ข้าพเจ้าขอน้อมถวายดวงประทีปต่อพระองค์”
จากนั้นนำดวงประทีป หรือเทียนจุดถวายต่อเทวรูป หรือจะจุดวนถวาย ก็ได้เช่นกัน
13.) ถวายเครื่องบริโภค ผลไม้ ขนมหวาน
อธิษฐานว่า “โอม ศรี คเณศายะ นะมะหะ ข้าพเจ้าขอนน้อมถวายผลไม้ตามฤดูกาลนี้ พร้อมขนมหวานต่างๆ และเครื่องดื่มบริโภคทั้งหลายนี้ต่อพระองค์”
จากนั้นนำผลไม้ต่างๆ ที่จัดเตรียมไว้ถวายต่อเทวรูป ถ้ามีเยอะมากหลายถาด ให้นำน้ำตักใส่ช้อนวนที่ผลไม้ ขนมหวานต่างๆ แล้วเทน้ำลงเบื้องหน้าเทวรูป
14.) ถวาย หมาก พลู หญ้าแพรก
อธิษฐานว่า “โอม ศรี คเณศายะ นะมะหะ ข้าพเจ้าขอถวายหมากพลู และหญ้าแพรกต่อพระองค์”
จากนั้นนำหมากพลู และหญ้าแพรกที่เตรียมไว้ ถวายต่อเทวรูป
15.) ถวายบทบูชาสรรเสริญ
สวดบทบูชาสรรเสริญต่างๆ เช่น
“โอม วักรตุนดะ มหากายา
สุริยะโกฏิ สมะประภา
นีระวิฆนัม กุรุเมเดวา
สรวะกา เยรชุ สรวะดา”
แปลว่า : ขอน้อมบูชาพระคเณศผู้ยิ่งใหญ่ องค์วักระตุน ผู้มีรัศมีเจิดจรัญส่องสว่างดังดวงอาทิตย์นับโกฏิดวง มีงวงอันคดโค้งอ่อนช่อย ผู้เป็นครู แห่งทวยเทพทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอน้อมบูชาในพระองค์
หรือ สวดบทย่อ 108 จบ
“โอม ศรี คเณศายะ นะมะหะ”
16.) สวดบูชาอารตี
หากสวดไม่ได้อาจเปิดยูทูป (Youtube) ค้นหา “ganpati aarti”
หรืออาจแค่วนไฟถวายพร้อมสวด “โอม ศรี คเณศายะ นะมะหะ”
ทั้งนี้เราสามารถปฏิบัติบูชาเช่นนี้ได้ตลอด หรือหากไม่สะดวก อาจทำเท่าที่เราทำได้ ขั้นตอนต่างๆ สามารถลดหรือเพิ่มเติมได้ แล้วแต่ผู้ทำ จะเห็นสมควร
บางคนอาจทำเต็มขั้นตอนทุกวัน หรือทำแค่วันแรก หรือวันสุดท้าย วันที่เหลืออาจแค่สวดบูชา ถวายผลไม้ ขนมต่างๆ โดยไม่สรงน้ำ
เพราะแท้จริงแล้วแก่นแท้ของการกราบสักการะบูชานี้คือเพื่อแสดงความเคารพและนำมาซึ่งความสงบสู่จิตใจ อันเป็นการสร้างสติปัญญาและสิริมงคลให้กับชีวิต
ขอบคุณข้อมูลจาก :เฟซบุ๊กพิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ
ภาพจาก : ShutterStock และ PPTV
เปิดประวัติ "พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล" ผบ.ตร.คนที่ 14
โปรแกรมการแข่งขัน เอเชียนเกมส์ 2022 ของนักกีฬาไทย วันที่ 28 ก.ย. 66
เปิดปฏิทินวันหยุดตุลาคม 2566 เช็กวันหยุดราชการ-วันสำคัญ